วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของเครือข่าย

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบัน การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้เข้ามีบทบาทต่อการเรียนการสอนในสถานศึกษาเพิ่มมากขึ้น หลายสถาบันการศึกษาได้มีการทดสอบระบบการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ตามแต่ที่หน่วยงานจะสามารถจัดหามาได้ ทำให้แต่ละแห่งมีวิธีการที่แตกต่างกันไป ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการแลกเปลี่ยนชุดวิชาต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นมากับสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ทางสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ITIE) มูลนิธิเด็ก ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานด้านสารสนเทศเพื่อการศึกษา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อให้เกิดเครือข่ายของสถาบันการศึกษาในการพัฒนาชุดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และสามารถแลกเปลี่ยนภายในเครือข่ายได ้
โดยในระยะแรกนี้จะได้ใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป CWTools ในการพัฒนาเนื้อหา และระบบจัดการเรียนการสอน VClass ซึ่งพัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Distributed Education Center - Asian Institute of Technology) ในการดำเนินโครงการนี้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้มีสื่อการเรียนการสอนที่มีปริมาณและคุณภาพที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
2. เพื่อให้เกิดเครือข่ายและความร่วมมือในการพัฒนาชุดการเรียนการสอนระหว่างหน่วยงาน มีมาตรฐานที่สามารถใช้ ร่วมกันได้
3. เพื่อให้เกิดระบบพัฒนา ทดสอบ สาธิต และปรับปรุงระบบการเรียนการสอนออนไลน์
4. เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนและจำหน่ายชุดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
ความเป็นมาของเครือข่าย
        หากย้อนไปเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว คอมพิวเตอร์เครื่องแรกกำเนิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ต่อมาคอมพิวเตอร์ก็มีบทบาทสร้างสรรค์สังคมมนุษย์เข้ามาช่วยเหลืองานต่าง ๆ ของมนุษย์มากมาย จินตนาการการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีมานานแล้ว โดยเฉพาะในนิยายวิทยาศาสตร์ ผู้เขียนนิยายวิทยาศาสตร์หลายท่านได้สร้างจินตนาการให้เห็นระบบสื่อสารที่ทรงพลัง โดยมีคอมพิวเตอร์ช่วยเป็นสื่อในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน
        จุดเริ่มต้นของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1962 Licklider แห่งมหาวิทยาลัย MIT ได้บันทึกแนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อ Galactic Network โดยแสดงจินตนาการให้เห็นหลักการของเครือข่ายทางวิชาการ พร้อมทั้งประโยชน์ที่จะใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการพูดคุย สื่อสาร อภิปราย ส่งข่าวระหว่างกัน และเชื่อมโยงกันทั่วโลก ต่อมา Licklider ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าทีมงานวิจัยตามความต้องการของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกัน ในโครงการที่ชื่อ DARPA ร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอีกหลายคน
PACKET SWITCHING EMERGED         ความคิดในช่วงแรกของการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์อาศัยหลักการพื้นฐานทางด้านการสวิตชิ่งของระบบโทรศัพท์ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้เชื่อมต่อกันในวงจรระหว่างจุดไปจุด จึงเรียกว่า "การสวิตช์วงจร" (Circuit Switching) จุดอ่อนของการสวิตช์วงจรที่เชื่อมระหว่างสองจุด ทำให้ใช้ข้อมูล ข่าวสารในเครือข่ายไม่เต็มประสิทธิภาพ และมีข้อยุ่งยากหากต้องการสื่อสารกันเป็นจำนวนมาก Leonard Kleinrock แห่งมหาวิทยาลัย MIT ได้เสนอแนวคิดในการสร้างเครือข่ายให้มีการรับส่ง ข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต  (Packet)  โดยได้เสนอบทความในวารสารตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 1961 ต่อมาได้พิมพ์เป็นเล่มในปี ค.ศ. 1964 และเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับและนำมาใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน การสื่อสารบนเครือข่ายแบบแพ็กเก็ต (Packet) เป็นวิธีการที่ให้ผู้ส่งข่าวสารแบ่งแยกข่าวสารเป็นชิ้นเล็ก ๆ บรรจุเป็นกลุ่มข้อมูล โดยมีการกำหนดแอดเดรสปลายทางที่จะส่งข่าวสาร หลังจากนั้นระบบจะนำแพ็กเก็ต นั้นไปส่งยังหลายทาง ในปี ค.ศ. 1965 มีการทดลองการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างมหาวิทยาลัย MIT กับมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ผ่านทางสายโทรศัพท์และใช้หลักการแพ็กเก็ต ความคิดทางด้านการรับส่งข้อมูลเป็นชิ้นเล็ก ๆ แบบแพ็กเก็ตได้รับการยอมรับ จนในที่สุดมีการพัฒนาจากแนวความคิดนี้ไปหลายแนวทาง จนได้วิธีการรับส่งบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ เช่น 25, TCP/IP, Frame Relay etc. เมื่อมีการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงถึงกัน ก็เกิดแนวคิดในการสร้างมาตรฐานที่จะทำให้ระบบการเชื่อมโยงมีลักษณะเปิดมากขึ้น กล่าวคือ การนำผลิตภัณฑ์หลากหลายยี่ห้อมาเชื่อมต่อกันได้ จึงมีวิธีการแบ่งระดับการสื่อสารออกมาเป็นชั้น (Layer) แต่ละขั้นจะมีการวางมาตรฐานกลางเพื่อให้การเชื่อมเครือข่ายที่แตกต่างกันสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้
เครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและได้และใช้ทรัพยากรที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก เช่น เวบ  อีเมล  FTP
ประโยชน์ของระบบเครือข่าย
        1. การใช้ Hardware ร่วมกัน
        2. การใช้ Software ร่วมกัน
        3. การต่อเชื่อมกับระบบอื่น
        4. การใช้ระบบ Multiuser
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. รับสมัครหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เข้าร่วมโครงการ และลงนามข้อตกลงการเข้าร่วมโครงการฯ
2. จัดอบรมการใช้งาน ให้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่ประสงค์จะใช้แนวทางร่วมกัน
3. พัฒนาเนื้อหาชุดวิชา แสวงหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถที่จะร่วมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (Subject
matter Experts)
4. นำเนื้อหาที่พัฒนาไปใช้งานและทดสอบ
5. ประเมินผลเนื้อหาชุดวิชา และปรับปรุงชุดการเรียนการสอน
6. เผยแพร่รายการเนื้อหาชุดวิชา
7. แลกเปลี่ยนเนื้อหาชุดวิชาภายในเครือข่าย ทั้งด้วยการส่งเสริมการใช้และการแสวงหารายได้เพื่อสนับสนุนบุคลากร
และองค์กรที่พัฒนาชุดการเรียน ดูแลระบบเครือข่าย และการจัดการเรียนการสอนที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง
8. ดูแลและรักษาผลประโยชน์ด้านลิขสิทธิ์ของชุดวิชาที่ผลิตได้ให้กับบุคคล และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้าง
แรงจูงใจที่เหมาะสมในการส่งเสริมการเรียนการสอนออนไลน์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น