วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การวางแผน

คู่มือการวางแผนการปฏิบัติงาน และความรับผิดชอบ 

 คำนำ 


                        สำหรับการฝึก-ศึกษานั้น ไม่เหมือนธุรกิจ เพราะการฝึก-ศึกษาไม่ได้หวังผลกำไรเป็นตัวเงิน แต่ผลทีได้เป็นคุณภาพในด้านต่าง ๆ ของคน อย่างไรก็ตาม กระบวนการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพทางการฝึก-ศึกษาก็สามารถนำแนวคิดและกระบวนการเข้ามาใช้ได้ โดยปรับให้เหมาะสมกับกระบวนการพัฒนาการฝึก-ศึกษา ซึ่งเป็นการพัฒนาคน การฝึก-ศึกษาจะให้ดีมีคุณภาพ เพื่อสร้างคนที่มีคุณภาพนั้น ก็เปรียบเทียมกับการสร้างบ้าน โดยคนในบ้านจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ว่าต้องการสร้างบ้านนั้นเพื่อประโยชน์อะไร แล้วจึงออกแบบแปลนให้เหมาะสม ต่อจากนั้น จึงลงมือวางรากฐานและดำเนินการร่อสร้างตามแบบแปลน ในระหว่างการก่อสร้าง ก็จะต้องตรวจสอบว่าตรงกับแบบแปลนหรือไม่ วัสดุที่ใช้เป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่ มีความมั่งคงเพียงใด ระบบน้ำไฟเป็นอย่างไร ถ้าพบสิ่งใดที่เป็นข้อบกพร่อง ก็ปรับปรุงแก้ไขไดในขั้นตอน ซึ่งจะทำให้บ้านที่ก่อสร้างขึ้นมา มีความแข็งแรง สวยงาม มั่งคง ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ กระบวนการพัฒนาคนในกองพันหรือหน่วยงานก็เหมือนกับการสร้างบ้าน เพียงแต่การสร้างบ้านนั้นต้องใช้สถาปนิก ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาดำเนินการ และเมื่อสร้างเสร็จแล้วก็เสร็จเลย ไม่ต้องทำต่อ แต่กระบวนการสร้างคนนั้น ผู้ที่เป็นสถาปนิกคือ ครูฝึก และผู้บังคับบัญชา ฝ่ายอำนวยการต่างๆ ซึ่งเป็นบุคคลภายในจะต้องร่วมกันพัฒนากำลังพลให้มีคุณภาพดีและจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยไม่หยุด ผู้บังคับบัญชาและครูฝึกในหน่วยฝึกมีการร่วมกันกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ว่าต้องการพัฒนากำลังพลให้มีคุณสมบัติเป็นอย่างไร และถ้าจะให้กำลังพลมีคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ก็ต้องช่วยกันคิด และช่วยกันวางแผน (Plan) ว่าจะต้องทำอย่างไร แล้วช่วยกันทำ (Do) ช่วยกันตรวจสอบ (Check) และต้องปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง (Action) เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นตลอดเวลา โดยร่วมกันทำงานเป็นทีม

                                                                                                  ภธรเดช     แก้วยรรยง

กล่าวทั่วไป
       การฝึกไม่ใช่เป็นการฝึกเพื่อผ่านหรือจบการฝึกตามหลักสูตรเท่านั้น แต่ ทุกส่วนควรมีแนวคิดที่จะทำอย่างไรให้กระบวนการพัฒนากำลังพลของหน่วยให้มีความรู้ และมีศักยภาพ ในการปฏิบัติภารกิจ และสามารถตอบสนอง งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งกระบวนการคิด จะต้องมีการประชุม ร่วมกันวางแผน เตรียมการ ดำเนินการ  ประเมินผลผลิต และปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่อง หรือเพิ่มเติมในส่วนที่หายไป หรือไม่ครบตามระยะเวลา
                  แนวคิดการทำงานที่เป็นระบบเช่นนี้จะช่วยสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันภายในหน่วยงาน และองค์กรเกิดความรู้สึกว่าเป็นงานปกติ เป็นการมองตนและประเมินตนเอง ซึ่งจะทำให้หน่วยงาน มีฐานข้อมูลที่มั่งคงเป็นจริง พร้อมเสมอต่อการปฏิบัติภารกิจ และการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก
บทที่ ๒

     ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดของระบบการประกันคุณภาพและแนวคิดตามหลักการบริหารในการจัดการฝึก
             ถ้าพิจารณาแนวคิดเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพที่ประกอบด้วยการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ กับหลักการบริหารที่เป็นระบบครบวงจร (PDCA) ซึ่งประกอบด้วยการร่วมกันวางแผน (P) ร่วมกันปฏิบัติตามแผน (D) ร่วมกันตรวจสอบ © และร่วมกันปรับปรุง (A) จะเห็นว่ามีความสอดคล้องกัน ดังนี้
                   การควบคุมคุณภาพ และการตรวจสอบคุณภาพก็คือกระบวนการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพ ตามหลักการบริหารนั่นเอง โดยการควบคุมคุณภาพ คือ การที่หน่วยงานต้องร่วมกันวานแผนและดำเนินการตามแผน เพื่อพัฒนาหน่วยให้มีคุณภาพตามเป้าหมายและมาตรฐานการฝึก-ศึกษา ส่วนการตรวจสอบคุณภาพ คือ การที่ผู้บังคับบัญชาต้องร่วมกันตรวจสอบ เพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามเป้าหมายและมาตรฐานการฝึก-ศึกษา  ให้สอดคล้องกับนโยบาย เมื่อมีการตรวจสอบตนเองแล้ว หน่วยงานที่รับผิดชอบการฝึก จะต้องมีการแก้ไข ปรับปรุง เสนอแนะ  ผู้ควบคุมการฝึกหรือรับผิดชอบก็เข้ามาช่วยติดตาม และประเมินคุณภาพเพื่อให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาปรับปรุงหน่วยฝึก ซึ่งจะทำให้มีความอุ่นใจ และเกิดความตื่นตัวในการพัฒนาคุณภาพอยู่เสมอ 

            การดำเนินการประกันคุณภาพภายใน

                ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก ๔ ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบประเมินผล และการพัฒนาปรับปรุง ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องดำเนินการร่วมกันในทุกขั้นตอน โดยมีรายละเอียดแต่ละขั้นตอน ดังนี้
     ๑.วานแผน
             สำหรับฝ่ายยุทธการและการฝึกนั้น จะต้องมีการจัดทำแผน ร่างคำสั่ง และบทเรียนจากการฝึกในครั้งที่ผ่านมา เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการฝึก-ศึกษา โดยร่างเป็นนโยบายการฝึกประจำปี หรือจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการฝึก- ศึกษาของหน่วย ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างฝ่ายอำนวยการ และผบ.หน่วยกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการฝึก-ศึกษา ได้แก่  ครูฝึก,ผช.ครูฝึก,วิทยากร และกำลังพล เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทสำหรับกำหนดทิศทางในการพัฒนาการฝึกไปสู่เป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนด ของหลักสูตร นั้น ๆ ในการจัดทำ จะต้องมีการจัดการสัมมนาการฝึก ก่อนสิ้นปีงบประมาณ เพื่อนำบทเรียนที่ได้จากการฝึกทุกหลักสูตรที่หน่วยรับผิดชอบ มาเป็นหัวข้อการจัดการสัมมนา และ ควรศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัดต่างๆ เช่น ยศ.ทบ. ,นโยบายของ ทบ.,ผู้บังคับบัญชา  เป็นต้น
            เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพฝ่ายยุทธการและการฝึก ควรมีการจัดทำแผนต่าง ๆ คือ แผนพัฒนาคุณภาพการฝึก-ศึกษาของหน่วยฝึก แผนปฏิบัติการประจำปี ในร่างคำสั่งฝึกประจำปี แผนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของกองทัพบก แผนการประเมินคุณภาพการฝึก-ศึกษา แผนงบประมาณ ที่ขอรับการสนับสนุน ซึ่งแผนต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกันดังที่แสดงไว้ในแผนภูมิ



บทที่ ๓
การวางแผน


          ขั้นตอนการวางแผน ในการวางแผนต่าง ๆ ก็ตามจะมีขั้นตอนการวางแผนทีสำคัญ คือการกำหนดเป้าหมาย การจัดอันดับความสำคัญของเป้าหมาย การกำหนดแนวทางการดำเนินงาน การกำหนดระยะเวลาดำเนินการ การกำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินการ และการกำหนดงบประมาณที่จะใช้ ดังที่แสดงไว้ในแผนภูมิที่ ๓ และจะได้กล่าวถึงโดยละเอียดต่อไป
แผนภูมิ ขั้นตอนการวางแผน


๑.๑  กำหนดเป้าหมาย
                   การวางแผนควรจะเริ่มจากการกำหนดเป้าหมาย ที่แสดงถึงคุณลักษณะหรือคุณภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นในหน่วยฝึก  ซึ่งควรระบุให้ชัดเจนในร่างคำสั่งการฝึก-ศึกษา และใช้เป็นหลักหรือทิศทางในการดำเนินงานของหน่วยฝึก หลังจากนั้นก็จัดทำแผนพัฒนาการฝึก-ศึกษาและแผนปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือมาตรฐานการฝึก-ศึกษา ซึ่งควรครอบคลุมลักษณะหรือคุณสมบัติของผู้ฝึก,ผู้เข้ารับการฝึก ที่พึงประสงค์ การบริหารจัดการ หลักสูตรและการเรียนการสอน ทรัพยากร สภาพแวดล้อม การประเมินผล การกำกับตรวจสอบ และการรายงาน         การกำหนเป้าหมาย อาจทำได้โดยมีวิธีการ ดังนี้
               ๑.๑.๑ การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการวางแผน ข้อมูลต่าง ๆ ที่ควรศึกษาวิเคราะห์ คือ
                       ๑)  เป้าหมายหรือมาตาฐานการฝึก-ศึกษาหลักที่เป็นความต้องการของหน่วยเหนือ และของหน่วย ได้แก่ นโยบาย ความมุ่งหมาย  วัตถุประสงค์ ขอบเขต หลักการและแนวความคิดการจัดการฝึก-ศึกษาของหน่วย ตามที่กำหนดในระเบียบหลักสูตรต่าง ๆ และ มาตรฐานการฝึก-ศึกษาของหน่วย เพื่อประเมินคุณภาพการฝึกของกำลังพลที่ได้เข้ารับการฝึก และที่รับผิดชอบการฝึก  เป้าหมายหรือมาตรฐานที่เป็นความต้องการของหน่วย เป็นเป้าหมายที่ควรเกิดขึ้นในหน่วยฝึก-ศึกษาทุกหลักสูตร  เช่น การจัดการเรียนการสอน Unit School การฝึก-ศึกษา ที่เน้นผู้เข้ารับการฝึก-ศึกษาเป็นสำคัญ การเสริมสร้างจริยธรรม คุณธรรมให้เกิดขึ้นกับกำลังพล การพัฒนากำลังพลให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ กำลังพลผู้เข้ารับการฝึกด้วยตนเอง มีทักษะในการทำงาน และมีความรู้ตามที่กำหนดในหลักสูตร เป็นต้น
                       ๒) สภาพกำลังพลและสถานการณ์ ทั้งในด้านสภาพทั่วไป ปัญหาความต้องการและแนวโน้มการพัฒนา ซึ่งจะเป็นเป้าหมายหรือมาตรฐานเฉพาะสำหรับหน่วย แต่ละหน่วยที่สอดคล้องกับบริหารจัดกำลังพลเข้ารับการฝึก เช่น กองร้อยสนับสนุน และ กองร้อยกองบังคับการ อาจจะกำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานเฉพาะเกี่ยวกับความรู้ทักษะ ในอีกทางหนึ่ง ส่วนกองร้อยปืนเล็กที่ ๑- ๕  ก็อาจกำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานเฉพาะเกี่ยวกับความรู้และทักษะ อีกทางหนึ่ง เป็นต้น

                       ๓) ข้อมูลสารสนเทศของหน่วยที่แสดงภาพของการฝึก-ศึกษาตามความเป็นจริง ได้แก่ สถิติข้อมูลบนพื้นฐานทีแสดงภาพทั่วไป ศักยภาพ หรือความสามารถในด้านต่าง ๆ ของกำลังพลในหน่วย เป็นการสำรวจหรือประเมินตนเองเบื้องต้น เพื่อให้ทราบจุดเด่นและจุดที่ต้องปรับปรุงของหน่วยของตน เพื่อหาแนวทางปรับปรุง โดยกำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาต่อไป
               ๑.๑.๒ วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดเป้าหมายของหน่วย การวิเคราะห์เพื่อพิจารณาความสอดคล้องของข้อมูลต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น และการสังเคราะห์เพื่อประสานความต้องการของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งความต้องการส่วนรวม และเฉพาะหน่วย จะช่วยให้หน่วยมีความเข้าใจ สามารถวางแผน และทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะหากสามารถกำหนเป้าหมายหลักที่เป็นความต้องการร่วมกันของฝ่ายต่าง ๆ  ได้แล้ว ก็จะสามารถนำผลที่ได้จากการดำเนินการตามเป้าหมายนั้นไปใช้ในการายงานหรือตอบสนองความต้องการของหน่วยงานหรือฝ่ายต่าง ๆ ได้พร้อมกัน เช่น การกำหนดเป้าหมายคุณลักษณะของ ผู้ฝึก,ครูฝึก,ผู้เข้ารับการฝึก ให้รู้จัดคิดวิเคราะห์ ก็จะสอดคล้องและตามสนองความต้องการของหลักสูตร มาตรฐานของหน่วยได้ และพร้อมที่จะรับการประเมินภาย เป็นต้น 

แผนภูมิ การกำหนเป้าหมายของหน่วย


๑.๒ การจัดอันดับความสำคัญของเป้าหมาย
                   การจัดอันดับความสำคัญของเป้าหมายจะช่วยให้การวางแผนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะหน่วยฝึกจะได้ทราบว่าเป้าหมายต่าง ๆ ที่ต้องการนั้น เป้าหมายใดสำคัญมากน้อยกว่ากันเพียงใด เพื่อกำหนดกิกรรม บุคลากร ทรัพยากร และช่วยระยะเวลาที่จะดำเนินการในการพัฒนาเป้าหมายนั้น ๆ ให้เหมาะสมหน่วย ซึ่งในบางครั้งที่ไม่ได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มเติม นอกเหนือจากเป้าหมาย หรือมาตรฐานของ ยศ.ทบ. และมาตรฐานประเมินในหลักสูตร  ซึ่งเป็นมาตรฐานหลักที่ต้องทำอยู่แล้ว อาจไม่เห็นความจำเป็นของการจัดอันดับความสำคัญ ก็อาจจะข้ามขั้นตอนนี้  ซึ่งไม่ได้

๑.๓  กำหนดแนวทางการดำเนินงานหรือวิธีปฏิบัติงาน
                                การกำหนดแนวทางหรือวิธีปฏิบัติงาน คือการนำเป้าหมายที่มีลักษณะเป็นความคิดเชิงนามธรรม มาทำให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ โดยคิดโครงการหรือกิจกรรมที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ รวมทั้งกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จหรือตัวบ่งชี้ให้มีความชัดเจนด้วย
                                การคิดจัดการฝึก-ศึกษาหรือกิจกรรมนั้น ไม่จำเป็นต้องคิดจัดการฝึก-ศึกษาให้ได้จำนวนมาก หรือไม่จำเป็นว่าทุกเป้าหมายจะต้องมีโครงการเฉพาะของเป้าหมายนั้น ในทางปฏิบัติจริง หากสามารถคิดกิจกรรมการทำให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้สำเร็จ และเป้าหมายนั้นเอื้อต่อการพัฒนาเป้าหมายอื่นต่อไปได้ ก็อาจขยายโดยจัดกิจกรรมในการฝึก-ศึกษานั้นเพิ่ม เช่น การฝึก UNIT SCHOOL ที่เพิ่มเติมจากบางหลักสูตรที่ระยะเวลาไม่พอ หรือ ที่ต้องการฝึกเพิ่มเติมให้กำลังพลในหน่วย เป็นต้น  ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอื่น ๆ ต่อไปได้ด้วย เป็นการทำงานแบบบูรณาการซึ่งจะเป็นการคิดโครงการที่ดีและมีประโยชน์เชื่อมโยงกัน อีกทั้งไม่เป็นการสร้างงานให้บุคลากรมากเกินไป
๑.๔ การกำหนดระยะเวลา
                   ในการทำแผนควรมีการกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินงานของโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ในแผนด้วย การกำหนดระยะเวลาจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เพราะผู้ปฏิบัติจะได้ทราบว่างานใดควรจะต้องดำเนินการให้เสร็จเมื่อไร ต้องเร่งดำเนินการก่อน หรืออาจรอได้ และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร หรือผู้ที่มีหน้าที่กำกับดูแล จะได้ติดตามงามได้ว่า มีความก้าวหน้าตามแผนเพียนใด
          ๑.๕ การกำหนดงบประมาณ
                   ความคิดงบประมาณที่จะต้องใช้ในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์รวมทั้งค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนอย่างรอบครอบและให้เป็นประโยชน์ต่อหลักสูตรและตามงบประมาณที่ได้รับมอบ ในแต่ละหลักสูตรการฝึก โดยคำนึงถึงความพอเพียงและความเหมาะสม
          ๑.๖  การกำหนดผู้รับผิดชอบ
                   การกำหนดผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมการดำเนินการแต่ละขั้นตอน หรือในงานการฝึก-ศึกษาและกิจกรรม ต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้แผนดังกล่าวสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรกำหนดไว้ในแผนให้ชัดเจนวาเรื่องใดจะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของใครบ้าง
     การปฏิบัติตามแผน
             เมื่อฝ่ายยุทธการและการฝึกได้วางแผนการปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว บุคลากรก็ร่วมกันดำเนินการตามแผนที่จัดทำไว้ โดยในระหว่างการดำเนินงานต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา และควรมุ่งเน้นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เข้ารับการฝึกเป็นสำคัญ นอกจากนี้ผู้บังคับบัญชาควรจะมีส่วนร่วมดังนี้
          - ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุข
          - จัดส่งอำนวยความสะดวก สนับสนุนทรัพยากรเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
          - กำกับ ติดตาม (Monitiring) ทั้งระดับรายบุคคล รายกลุ่ม รายหมวด/ฝ่าย เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามแผน
          - ให้การ ทลป. หลังการปฏิบัติ และ วิจารณ์การฝึก
          ในระหว่างการปฏิบัติงาน ผู้บังคับบัญชาจะต้องกำกับและติดตามว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือแผนที่กำหนไว้ หรือมีปัญหาหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามแผนหรือมีปัญหา จะได้ให้จัดการสัมมนา หรือประชุมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การกำกับและติดตามการปฏิบัติงานมีหลายวิธี

บทที่ ๔

การตรวจสอบและประเมินผล

   การตรวจสอบประเมินผล
          การประเมินผล เป็นกลไกสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนา เพราะจะทำให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียงใด ต้องปรับปรุงแก้ไขในเรื่องใดบ้าง ผู้บังคับบัญชา และผู้ฝึก,ครูฝึก,หน.กรรมการ ,กรรมการ ให้เข้าใจระบบการประกันคุณภาพการฝึก อย่างถูกต้อง จะตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินผล ไม่กลัวการประเมินผลโดยเฉพาะการประเมินตนเอง ซึ่งเป็นการประเมินเพื่อการพัฒนาไม่ใช่การติดสินถูก-ผิด ไม่ใช่การประเมินเพื่อประเมิน และไม่ใช่เรื่องที่ทำยาก ไม่ต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมินมากมาย แต่เป็นการประเมินในงานที่ทำอยู่เป็นประจำ เครื่องมือที่ใช้อาจเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องสร้างขึ้นใหม่ เช่น สถิติที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของฝ่ายอำนวยการ ผลงาน หรือการบ้าน ตลอดจนการทดสอบย่อยของ จัดเก็บให้เป็นระบบมากขึ้นเท่านั้น
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา
๑.      ต้องรับผิดชอบในกิจการทั้งปวงที่หน่วยของตนกระทำ หรือ มิได้กระทำ
๒.    ต้องพัฒนาการเป็นผู้นำที่ดีต่อหน่วยรอง
๓.     ต้องรับผิดชอบในการจัด การควบคุม และการแบ่งมอบอำนาจ
๔.     ต้องกำหนดนโยบายในการปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
หน้าที่ฝ่ายอำนวยการ โดยทั่วไป
                มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาในการบริหารงานทั้งปวง ผู้บังคับบัญชามอบให้  ถ้าหากไม่มีฝ่ายอำนวยการคอยช่วยเหลือในการดำเนินการบังคับบัญชาหรือบริหารงานแล้ว ย่อมประสบปัญหา
หน้าที่ฝ่ายอำนวยการ คือ
                ๑. สนองความต้องการของผู้บังคับบัญชาและหน่วยรองในทันที
          ๒. ติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา และพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                ๓. ลดเวลาที่ใช้ในการควบคุม และประสานการปฏิบัติ
                ๔. ช่วยลดความผิดพลาด
                ๕. ปลดเปลื้องภาระของผู้บังคับบัญชา ในการที่ต้องกับกับดูแลอย่างละเอียดต่องานประจำ
การในหน้าที่ของฝ่ายอำนวยการ โดยทั่วไป
                ๑. การให้ข่าวสาร                                                ๒. การทำประมาณการ
                ๓. การนำเสนอ                                                   ๔. การทำแผนและคำสั่ง
                ๕. การกำกับดูแล และดำเนินการตามแผนและคำสั่ง
หลักหารบริหารงาน
           การบริหารบุคลากร เป็นกระบวนการเกี่ยวกับบุคคล เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลดี มีความรู้ ความสามารถ เหมาะสมกับงาน เข้ามาทำงานให้ได้ผลดีที่สุด โดยหน่วยงานสามารถดึงดูด ธำรงรักษา และพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถ ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานสามารถทำภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตามความมุ่งหมาย
        
งาน-บุคลากร เป็นปัจจัยสำคัญที่เกื้อกูลกันและกัน ที่จะทำให้หน่วยหรือองค์กร หรือหน่วยงานประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน เพราะงานบุคลากรเป็นกำลังสำคัญ เป็นกลไกในการบริหารงานด้านอื่น ๆ ให้บรรลุ เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพได้
             การบริหารบุคลากรมีคำที่ใช้อยู่หลายคำ เช่น การบริหารงานบุคคล การจัดการงานบุคคล และการบริหารงานการเจ้าหน้าที่ เป็นต้น ซึ่งเป็นความหมายเดียวกันคือ การบริหารบุคลากร             
               
ภารกิจของการบริหารงานบุคลากร
         ๑. การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง
     
๒. การวิเคราะห์และวางแผนอัตรากำลังคนให้เหมาะสมกับงานและภารกิจ
   
แนวทางการปฏิบัติ
      
๑วิเคราะห์ภารกิจและประเมินสภาพความต้องการกำลังคนกับภารกิจของหลักสูตรและหน่วยฝึก
      
๒ จัดทำแผนอัตรากำลังพล ,ผู้ฝึก,ครูฝึก,ผช.ผู้ฝึก,หน.กรรมการ,กรรมการ และฝ่ายอำนวยการที่ให้การสนับสนุน และร่วมกำกับดูแลการฝึก
     
๓ นำเสนอแผนอัตรากำลังพลเพื่อขอความเห็นชอบต่อ ผบ.ร.๑ พัน.๔ รอ.
      
๔ นำแผนอัตรากำลังพลบรรจุลงในร่างคำสั่ง/แผนการฝึก ในหลักสูตร สู่การปฏิบัติ
     
๕.การกำหนดตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
            ๖. การกำหนดผู้ดูแล และสนับสนุน
   
แนวทางการปฏิบัติของหน่วยฝึก/ทก.ฝึก
      
๑. หน่วยฝึก/ทก.ฝึก ศึกษาวิเคราะห์ภารกิจ จัดทำภาระงานสำหรับกำลังพลในหน่วยฝึก
      
นำแผนอัตรากำลังพลมากำหนดตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ ,ครูฝึก,ผู้ช่วยครูฝึก,และแผนการขอรับการสนับสนุน
     
๓. กำหนดบทบาท/หน้าที่ความรับผิดชอบเป็นรายบุคคล
           ๔. จัดทำข้อเสนอร่างแผนและร่างคำสั่ง ในการควบคุม และกำกับดูแลภายในหน่วยฝึก/ทก.ฝึก
           ๕. นำแผนเสนอการกำหนดห้วงการประเมินผล
           ๖. การขอเลื่อนตำแหน่งบุคลากรหรือ มอบรางวัลปลอบขวัญ
   
      ๗.ทลป.หลังจบการฝึก และบันทึกผลนำบทเรียนที่ได้จากการฝึกไปจัดการฝึกครั้งต่อไป

       แนวทางการปฏิบัติของฝ่ายยุทธการและการฝึก หลัง ทลป.
๑.      บันทึกข้อเสนอแนะ/ปัญหาข้อขัดข้อง นำเสนอ และเวียนทราบ  และบันทึกเป็นบทเรียน ในการวางแผน
ในการจัดการฝึกครั้งต่อไป หรือดำเนินการฝึก Unit School  เพื่อทดแทน หรือทบทวนในข้อที่บกพร่องตามข้อเสนอแนะ
           ๒.  จัดการสัมมนาการฝึกทุกส่วน ก่อนสิ้นปีงบประมาณในปีนั้น เพื่อหาข้อสรุปในภาพรวม ในการเตรียมการจัดการฝึกในปีงบประมาณใหม่ พร้อมทำข้อเสนอแนะเสนอตามสายบังคับบัญชา
        +++ การฝึกไม่ควรยึดติดกับตำรามากเกินไป เพราะสถานการณ์ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แต่จะทำอย่างไรที่จะริเริ่มพัฒนาการฝึกให้มีความสอดคล้องกับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และไม่ผิดเพี้ยนจากระเบียบหลักสูตร  และให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

บรรณานุกรม

คู่มือการจัดการฝึก รร.ร.ศร., คู่มือการจัดฝ่ายอำนวยการ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น