วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สรุป การเสนองานนิพนธ์ทุกรูปแบบ ส่วนประกอบจะเรียงลำดับ ดังนี้

1. ปก
2. ปกนอก
3. กระดาษรองปก
4. ปกในภาษาไทย
5. ปกในภาษาอังกฤษ
6. ใบรับรองวิทยานิพนธ์ (กรรมการสอบลงชื่อ)
7. บทคัดย่อภาษาไทย
8. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
9. กิตติกรรมประกาศ
10. สารบัญ
11. สารบัญตาราง (ถ้ามี)
12. สารบัญภาพ (ถ้ามี)
13. วรรณกรรมหรือเนื้อเรื่อง
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีการวิจัย
บทที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
14. บรรณานุกรม
15. ภาคผนวก
16. ประวัติผู้วิจัย

หมายเหตุ ให้ใช้อักษรโรมันกำกับเลขหน้าตั้งแต่หน้าบทคัดย่อภาษาไทยถึงหน้าสารบัญและให้ใช้เลขอารบิคกำกับเลขหน้าตั้งแต่หน้าบทที่ 1 ถึงหน้าประวัติผู้วิจัย

สัญลักษณ์ที่ใช้บ่อยในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

N แทน จำนวนคนในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
n แทน จำนวนคนในกลุ่มตัวอย่างย่อย
X แทน ผลรวมทั้งหมดของคะแนนดิบชุด X
X แทน ค่าเฉลี่ยของคะแนนดิบชุด X
Y แทน ผลรวมทั้งหมดของคะแนนดิบชุด Y
Y แทน ค่าเฉลี่ยของคะแนนดิบชุด Y
SD แทน ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
r แทน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
R แทน ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ
df แทน ชั้นของความเป็นอิสระ
MS แทน ค่าความแปรปรวน
SS แทน ผลรวมของคะแนนเบี่ยงเบนแต่ละตัวยกกำลังสอง
t แทน ค่าคำนวณจากการทดสอบที (t test)
F แทน ค่าคำนวณจากการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Fisher’s F ratio)
แทน ค่าคำนวณจากการทดสอบไค-สแควร์ (chi-square test)
p แทน ค่าความน่าจะเป็น
* แทน นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
** แทน นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ขั้นตอนการทำการค้นคว้าอิสระ

สรุปขั้นตอนย่อๆ ได้พอสังเขปดังนี้
1. นักศึกษาจะต้องสมัครใจที่จะเรียนแผน ข. ที่จะไม่ทำวิทยานิพนธ์ แต่จะต้องมีการศึกษา
ค้นคว้าเฉพาะด้าน เฉพาะอย่างซึ่งเรียกต่างกันไปในแต่ละหลักสูตร คือสารนิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ แทน
2. เมื่อใกล้จะจบ Course Work นักศึกษาจะต้องคิดหาหัวข้อเพื่อทำโครงการเสนอทำการ
ศึกษาค้นคว้าตามข้อ 1 แล้วจึงหาอาจารย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง เพื่อเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระและควบคุมการศึกษาค้นคว้า ซึ่งอาจมีอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระร่วมได้ หรือจะหารือกับอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระแล้วจึงร่วมกันคิดหัวข้อเรื่องทำการศึกษาค้นคว้าก็ได้
3. ทำหัวข้อและโครงการศึกษาค้นคว้าเสนอให้กรรมการพิจารณาโดยบัณฑิตวิทยาลัยจะแต่งตั้ง
กรรมการวิชาการประจำหลักสูตรพิจารณาอนุมัติหัวข้อและโครงการศึกษาค้นคว้านั้น
4. เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว นักศึกษาก็จะเริ่มดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามขั้นตอนที่คณะกรรมการ
อนุมัติได้
5. เมื่อได้ข้อมูลแล้ว ต้องนำมาวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติต่างๆ ที่เหมาะสม หรือด้วยวิธีการที่
เหมาะสมตามลักษณะของเรื่องที่ศึกษาแต่ละเรื่อง แล้วสรุปผลการค้นพบ แล้วอภิปรายผลพร้อมให้ข้อเสนอแนะการนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์
6. เมื่อผ่านการตรวจ และการดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ และเห็นว่ามีความ
สมบูรณ์ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์และรูปแบบแล้ว จึงอนุญาตให้ขอสอบปากเปล่า (oral examination) สำหรับหลักสูตรที่ต้องสอบต่อไป
7. หากนักศึกษาสอบปากเปล่าได้เป็นที่น่าพอใจของคณะกรรมการเป็นเอกฉันท์และแก้ไข
รวมเย็บเล่มเข้าปกเรียบร้อยแล้วจึงอนุมัติการสำเร็จการศึกษาได้
8. นักศึกษาส่งการค้นคว้าอิสระฉบับสมบูรณ์ที่เข้าปกเย็บเล่มแล้วจำนวน 5 เล่ม บทคัดย่อภาษาไทยจำนวน 5 ชุด รวมทั้งแผ่น Diskette บทคัดย่อภาษาไทย 1 แผ่น ให้แก่บัณฑิตวิทยาลัย

ขั้นตอนการทำสารนิพนธ์ (สำหรับนักศึกษาแผน ข.)

ขั้นตอนการทำสารนิพนธ์ (สำหรับนักศึกษาแผน ข.)

1. นักศึกษาลงทะเบียนและสอบผ่านวิชา “ระเบียบวิธีวิจัย” และวิชาบังคับอื่นๆ ไม่น้อยกว่า
12 หน่วยกิต โดยได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00
2. ลงทะเบียนวิชา สารนิพนธ์ 6 หน่วยกิต
3. นักศึกษาเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์จากอาจารย์ประจำ หรือ อาจารย์พิเศษ หรือ
ผู้ทรงคุณวุฒิที่บัณฑิตวิทยาลัยประกาศรายชื่อเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์
4. นักศึกษายื่นคำร้องขออนุมัติแต่งตั้ง อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ และอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) ผ่านผู้อำนวยการหลักสูตร
5. บัณฑิตวิทยาลัยดำเนินการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ และอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์
ร่วม (ถ้ามี) พร้อมทั้งส่งสำเนาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
6. นักศึกษาส่งหัวข้อและโครงร่างสารนิพนธ์ พร้อมทั้งแผนการศึกษาให้กับอาจารย์ที่ปรึกษา
สารนิพนธ์ อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) และบัณฑิตวิทยาลัยเพื่อขออนุมัติ เมื่ออนุมัติแล้วจึงเริ่มทำสารนิพนธ์ภายใต้การแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ และอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) ระหว่างนี้นักศึกษาควรทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อช่วยตรวจสอบแบบสอบถาม
7. นักศึกษายื่นคำร้องขอหนังสือเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อช่วยตรวจสอบแบบสอบถาม
8. นักศึกษายื่นคำร้องขอหนังสือถึงหัวหน้าหน่วยงานที่นักศึกษาจะไปเก็บข้อมูล พร้อมทั้งขอ
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
9. บัณฑิตวิทยาลัยออกหนังสือให้แก่นักศึกษาตามที่ขอเพื่อดำเนินการยื่นหนังสือและเก็บข้อมูล
จากหน่วยงาน
10. นักศึกษาประมวลความรู้ วิเคราะห์ สรุปผลการศึกษา ภายใต้การแนะนำของอาจารย์ที่
ปรึกษาสารนิพนธ์ และอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ร่วม (ถ้ามี)
11. นักศึกษาเรียบเรียงสารนิพนธ์ ตามรูปแบบที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดให้เสร็จสมบูรณ์
12. นักศึกษาเขียนคำร้องขอสอบสารนิพนธ์ และนำคำร้องนี้ไปขอความเห็นชอบจากอาจารย์ที่
ปรึกษาสารนิพนธ์ และอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ร่วม (ถ้ามี)
13. นักศึกษายื่นคำร้องพร้อมสำเนาสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ จำนวน 3 - 5 เล่ม ต่อบัณฑิต
วิทยาลัย
14. ผู้อำนวยการหลักสูตร และ / หรือ บัณฑิตวิทยาลัยดำเนินการแต่งตั้งประธานกรรมการสอบ
สารนิพนธ์ และกรรมการร่วมไม่น้อยกว่า 3 คน และไม่เกิน 5 คน และกำหนดวันสอบ พร้อมทั้งส่งสำเนาให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
15. นักศึกษาเข้าสอบสารนิพนธ์ตามวันที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
16. นักศึกษาทำการแก้ไขสารนิพนธ์ตามมติคณะกรรมการสอบสารนิพนธ์ ภายใต้การแนะนำ
ของอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ และอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับจากวันที่สอบสารนิพนธ์ มิฉะนั้นจะถือว่าสอบไม่ผ่าน และให้นักศึกษาส่งสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ให้บัณฑิตวิทยาลัยตรวจสอบความเรียบร้อยของรูปเล่มทั้งหมด
17. เมื่อบัณฑิตวิทยาลัยตรวจสอบความเรียบร้อยแล้ว ให้นักศึกษานำสารนิพนธ์ไปเข้าปกเย็บ
เล่มได้
18. นักศึกษาส่งสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ที่เข้าปกเย็บเล่มแล้วจำนวน 5 เล่ม บทคัดย่อภาษาไทย
และภาษาอังกฤษจำนวน 5 ชุด รวมทั้ง Diskette บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 1 แผ่นให้แก่บัณฑิตวิทยาลัย

















หมายเหตุ เพื่อให้การศึกษาของนักศึกษาเป็นไปตามแผนการศึกษาและจบภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้นักศึกษาดำเนินการเริ่มทำสารนิพนธ์แต่เนิ่นๆ